มี 14 สาขาวิชา ดังต่อไปนี้
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
1.สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น (Local Goverment)
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการแบบบูรณาการให้เป็นนักวิชาการ นักบริหาร นักปกครอง นักวิจัย และนักพัฒนาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและท้องถิ่น โดยใช้หลักการประชาธิปไตย หลักคุณธรรมจริยธรรม และหลักนิติธรรมในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ไปสู่การเป็นผู้นำในการปกครองท้องถิ่นและสร้างและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
โอกาสด้านอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษา นักวิชาการ นักบริหาร นักการปกครอง นักวิจัย และนักพัฒนา
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)
2. สาขาทัศนศิลป์ (Visual Art)
มุ่งผลิตบัณฑิตด้านศิลปกรรมที่มีความรู้และความสามารถในการสร้างงานศิลปะและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเน้นคุณลักษณะบัณฑิตที่เห็นคุณค่าของศิลปะ และรักการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ สู่สังคมและผลงาน ด้านจิตกรรมประติมากรรม สถาปัตยกรรม งานออกแบบ โดยเน้นให้นักศึกษาปฏิบัติงานจริงภายไต้การดูแลและเอาใจใส่จากผู้ทรงคุณวุฒิ
โอกาสด้านอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ศิลปผู้สร้างสรรค์ผลงานอย่างหลากหลาย ครูสอนศิลปะในสถาบันต่างๆ ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาและการประชาสัมพันธ์ งานออกแบบตกแต่งบ้านเรือนและตกแต่งภายใน
3.สาชาวิชาดนตรี (Music)
เปิดสอนหลักสูตรดนตรีตะวันตก เน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านภาคการปฏิบัติและภาคทฤษฏีหลักวิชาดนตรีพร้อมทั้งมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีด้านดนตรี มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณที่ดีตลอดจนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตและอาชีพในอนาคต
โอกาสด้านอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา นักดนตรี นักร้อง ผู้ประพันธ์เพลง ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน นักวิชาการดนตรี ผู้ควบคุมวงดนตรี ควบคุมห้องบันทึกเสียง ผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการเกี่ยวกับดนตรี สถาบันดนตรีหรือโรงเรียนสอนดนตรี
4.สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร(Classical Dance and Drama)
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางด้านนาฏศิลป์และการละครเพื่อการอนุรักษ์พัฒนาสร้างสรรรค์ที่เน้นจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีทักษะและความเชียวชาญทางด้านนาฏศิลปไทย นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร สามารถสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์จากองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดีผู้เรียนมีโอกาสเป็นตัวแทนไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในและนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง
โอกาสด้านอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ศิลปิน นักแสดง นักออกแบบชุด การแสดงในสถานประกอบการทางนาฏศิลป์ ครูฝึกสอนเต้นรำการแสดง ครูสอนนาฏศิลปการแสดงในสถาบันการศึกษา เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับนาฏศิลป์หรือสถาบันสอนการแสดง
หลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต
5. สาขาวิชาภาษาไทย (Thai)
จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้พัฒนาวิชการ เชี่ยวชาญวรรณกรรมมีคุณธรรมนำชีวิตและอนุรักษ์ภาษาไทย
โอกาสด้านอาชีพเมื่อสำเเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพได้หลายอย่างหลากหลายทั้งในหน่วยงานรัฐ เอกชนงานอิสระ ได้แก่นักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน นักเขียน นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ เลขานุการ เจ้าหน้าที่บรรณาธิการ เจ้าหน้าที่สำนักพิมพ์ และเป็นครูสอนภาษาไทย
6. สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการบริการ (Touriism and Hospitality Manageement)
จัดการเรียนการสอนภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์จริงในระหว่างเรียนมีความเป็นเลิศในด้านการจัดการท่องเที่ยวและการบริการ มีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ
โอกาสด้านอาชีพเมื่องสำเร็จการศึกษา มัคคุเทศก์ หัวหน้าทัวร์ พนักงานในบริษัทนำเที่ยว เรือสำราญ สายการบิน ท่าอากาศยาน ธุรกิจประชุมสัมนาและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ นักวิชาการ อาจารย์สอนการท่องเที่ยวและบริการ
7.สาขาวิชาธุรกิจโรงแรม(Hotel business)
มุ่งผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วยความรู้และทักษะในการให้บริการงานโรงแรมเป็นผู้มีจิตบริการในการเป็นพนักงานที่ดีและพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐาน สมรรถนะวิชาชีพในระดับสากล
โอกาสด้านวิชาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ พนักงานในสถานประกอบการด้านโรงแรมและการบริการ เช่นพนักงานต้อนรับ พนักงานบริหารอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานแม่บ้าน พนักงานภัตตาคาร พนักงานต้อนรับธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง พนักงานต้อนรับบนเรือสำราญ พนักงานจัดกิจกรรมนอกสถานที่organizer เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ธุรกิจส่วนตัว
ติดต่อสอบถาม 0-4535-2000 ต่อ1508 อ.บุรินทร์ สิริเนตร์ 09-2519-9615
8.สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์(Library and lnformafton science)
มุ่งผลิตบัณฑิตโดยเน้นที่ความถนัดทางวิชาชีพ เช่นงานเทคนิคบริการงานบริหารความรู้ทักษะในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับบรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เช่นเทคโนโลยีสารสนเทศทักษะการสื่อสารเพื่อนบัณฑิตมีความสามารถในการเป็นบรรณารักษ์และสารนิเทศในท้องถิ่น
โอกาสด้านวิชาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดนักสารนิเทศนักเขียน บรรณาธิการ เลขานุการ ครูบรรณารักษ์ ต้องเรียนวิชาชีพครูเพิ่มเติม นักจดหมายเหตุ นักพิสูจน์อักษร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย และแผนนักจัดรายการวิทยุ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด เจ้าหน้าที่ป้อนข้อมูล เจ้าหน้าที่ธุรการ
ติดต่อสอบถาม 045-352000 ต่อ 1503
อ. ปัจทมา จรัสรุ่งรวีวร 08-15483739
อ. วรนุช ศรีพลัง 08-19115250
อ. ชนันรัตร์ รูปใหญ่ 09-34455659
9. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน(Community development)
มุ่งผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้คู่คุณธรรมมีจริยธรรม เข้าใจในทฤษฎีแนวคิดและขบวนการการพัฒนาชุมชนมีทักษะและความสามารถในการวิจัย คิดวิเคราะห์เพื่อหนุนเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่นยืน
โอกาสด้านวิชาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา พัฒนากรตำบลและอำเภอและระดับจังหวัด นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาสังคม ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
ติดต่อสอบถาม 045-352000 ต่อ 1512
10. สาขาวิชาภาษาจีน(Chinese)
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีทักษะความรู้ความสามารถเชิงบูรณาการและความคิดสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานโลกยุคใหม่ โดยได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายในสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แก่
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งคุณหมิง และ มหาวิทยาลัยเฉิงตู เพื่อร่วมกันผลิตบัณฑิตตามเป้าประสงค์โดยนักศึกษาสาขาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 ทุกคน จะได้มีโอกาสเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศจีนเป็นระยะเวลา 1 ปี
โอกาสด้านวิชาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ล่ามภาษาจีน (ทั้งภาครัฐและเอกชน) เจ้าหน้าที่ในสถานทูตจีนและสถานกงสุลจีน นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกสินค้าไทย-จีน ครูอาจารย์สอนภาษาจีน รวมทั้งพนักงานในภาคธุรกิจการบริการต่างๆ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร ติดต่อสอบถาม 0-4535-2000 ต่อ 1502
11.สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์(Public administration)
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้เป็นนักบริหาร นักปกครอง นักพัฒนา นักวิชาการ ที่มีคุณธรรมจริยธรรมยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย มีความรู้ความสารารถและนำและเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
โอกาสด้านวิชาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา พนักงานฝ่ายการปกครอง ปลัดอำเภอ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และทหารชั้นสัญญาบัตร นักวิชาการวิเคราะห์นโยบายและแผน นักพัฒนาชุมชน ทันตวิทยา และข้าราชการครู(เรียนวิชาชีพครูเพิ่มเติ่ม) นักวิจัยอิสระ ผู้บริหารองค์กรอิสระ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลาง
ติดต่อสอบถาม 0-4535-2000 ต่อ 1523
12. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ (Business English)
จัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพสูง ด้านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพทั้งในระดับท้องถิ่นระดับชาติและระดับนานาชาติ
โอกาสด้านวิชาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา เลขานุการ พนักงานในหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจบริษัทเอกชน หรือ สถาบันการเงิน พนักงานในธุรกิจบริการต่างๆ เช่น โรงแรม รีสอร์ท สนามบินสายการบินเรือท่องเที่ยว หรือภัตตาคารธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนเป็นนักวิชาการ ครูอาจารย์หรืออาชีพอิสระ เช่น นักแปล ล่าม หรือครูสอนพิเศษภาอังกฤษ
ติดต่อสอบถาม 0-4535-2000 ต่อ 1504
13.สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (English)
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นบัณฑิตที่มีศักยภาพสูงด้านภาษาอังกฤษ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม กับงานที่ปฎิบัติสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติมีความเป็นไทยและสากลอย่างสมดุลและเป็นฐานกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ
โอกาสด้านวิชาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา นักแปล นักวิชาการอิสระ ผู้สอนภาษาอังกฤษ เลขานุการ พนักงานต้อนรับ และบริการโรงแรม เรือสำราญ สายการบินและบริษัทเอกชน บรรณาธิการ ผู้พิสูจน์อักษรประจำโรงพิมพ์ ผู้สื่อข่าว
ติดต่อสอบถาม 045-352000 ต่อ1554
ผศ.กรรณิกา นาคพันธ์แก้วสมุทร์ โทร.09-7338-2599
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
14.สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
เป็นหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางรัฐศาสตร์ ด้านการเมืองการปกครองและสามารถบูรณาการกับศาสตร์อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ บัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและอุดมการณ์ประชาธิปไตย บัณฑิตตระหนักถึงความเป็นท้องถิ่นและเข้าใจในปัญหาของสถานการณ์ทางการเมืองการปกครองในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) พนักงานฝ่ายปกครอง ปลัดอำเภอ ปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
2) นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร นายตำรวจชั้นประทวน นายทหารชั้นสัญญาบัตรนายทหารชั้นประทวน 3) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
4) นักพัฒนาชุมชนและนักพัฒนาสังคม 5) นักทัณฑวิทยาฝ่ายปฏิบัติการ 6) ตำรวจรัฐสภา 7) เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง 8) เจ้าหน้าที่สัสดี 9) นักวิชาการศึกษา 10) นักส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
11) นักจัดการงานทั่วไป 12) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 13) ข้าราชการในกระทรวงต่าง ๆ 14) นักการเมืองระดับประเทศและระดับท้องถิ่น 15) ข้าราชการในองค์กรอิสระต่าง ๆ 16) เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล
17) นักวิชาการรัฐสภา 18) ครูสอนวิชาเอกสังคมศึกษา (ที่มีใบประกอบวิชาชีพครู)
2 ภาคเอกชน
1) นักวิชาการและนักวิจัยอิสระ 2) พนักงานฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์และฝ่ายบุคคล 3) ผู้บริหารองค์กรระดับสูง 4) ผู้ประกอบการธุรกิจ 5) ผู้สื่อข่าวการเมือง นักวิเคราะห์ข่าวการเมือง
6) นักวิเคราะห์การลงทุน 7) นักวิเคราะห์ระบบงาน 8) พนักงานธนาคาร 9) นักวิเคราะห์โครงการ 10) เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล11) เจ้าหน้าที่ประสานงาน