ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
คณะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Political Science Program in Politics and Government
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ร.บ. (การเมืองการปกครอง)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Political Science (Politics and Government)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Pol.Sc. (Politics and Government)
3. วิชาเอก
ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
R หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565
R สภาวิชาการ เห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุม
ครั้งที่ 4 / 2564 วันศุกร์ ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564
R สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 7 / 2564
วันศุกร์ ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
เปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2567
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
8.1 รับราชการ / หน่วยงานของรัฐ
1) พนักงานฝ่ายปกครอง ปลัดอำเภอ ปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
2) นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร นายตำรวจชั้นประทวน นายทหารชั้นสัญญาบัตร
นายทหารชั้นประทวน
3) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
4) นักพัฒนาชุมชนและนักพัฒนาสังคม
5) นักทัณฑวิทยาฝ่ายปฏิบัติการ
6) ตำรวจรัฐสภา
7) เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง
8) เจ้าหน้าที่สัสดี
9) นักวิชาการศึกษา
10) นักส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
11) นักจัดการงานทั่วไป
12) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
13) ข้าราชการในกระทรวงต่าง ๆ
14) นักการเมืองระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
15) ข้าราชการในองค์กรอิสระต่าง ๆ
16) เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล
17) นักวิชาการรัฐสภา
18) ครูสอนวิชาเอกสังคมศึกษา (ที่มีใบประกอบวิชาชีพครู)
8.2 ภาคเอกชน
1) นักวิชาการและนักวิจัยอิสระ
2) พนักงานฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์และฝ่ายบุคคล
3) ผู้บริหารองค์กรระดับสูง
4) ผู้ประกอบการธุรกิจ
5) ผู้สื่อข่าวการเมือง นักวิเคราะห์ข่าวการเมือง
6) นักวิเคราะห์การลงทุน
7) นักวิเคราะห์ระบบงาน
8) พนักงานธนาคาร
9) นักวิเคราะห์โครงการ
10) เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
11) เจ้าหน้าที่ประสานงาน
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
1. ปรัชญา ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.1 ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ที่มีความรอบรู้ทางด้านการเมืองการปกครอง การบริหารและทักษะ
ด้านการพัฒนาเชิงบูรณาการ ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสาธารณะ และรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ
1.2 ความสำคัญ
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองเป็นศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเมือง การปกครอง การบริหารและการพัฒนาวิถีชีวิตของคนในสังคมโดยบูรณาการกับศาสตร์อื่น เพื่อผลิตบัณฑิต ทางด้านรัฐศาสตร์ ให้มีความรู้ มีทักษะ มีคุณธรรมจริยธรรม รู้เท่าทันสถานการณ์และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของสังคมได้
1.3 วัตถุประสงค์
1) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางรัฐศาสตร์ ด้านการเมืองการปกครองและสามารถบูรณาการกับศาสตร์อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อสังคม
และมีอุดมการณ์ประชาธิปไตย
3) เพื่อผลิตบัณฑิตให้ตระหนักถึงความเป็นท้องถิ่นและเข้าใจในปัญหาของสถานการณ์
ทางการเมืองการปกครองในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติได้
2. แผนพัฒนาปรับปรุง: ระยะเวลาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2565 – 2569
แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง | กลยุทธ์ | หลักฐาน/ตัวบ่งชี้ |
– พัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่ สกอ. กำหนด สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 | – พัฒนาหลักสูตรโดยมีพื้นฐานจากหลักสูตรในระดับสากล
– ติดตามประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ – เชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาหลักสูตร |
– การรับทราบหลักสูตรจาก สกอ.
– รายงานการประเมินหลักสูตรโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตร
|
– พัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม | – สำรวจ/ติดตามความต้องการของสังคม
|
– รายงานผลการประเมิน ความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตขององค์กร/สถาบัน/สังคม ที่บัณฑิตปฏิบัติงาน
– ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจ |
– พัฒนาบุคลากรด้าน การเรียนการสอนและบริการวิชาการ ให้มีประสบการณ์ จากการนำความรู้ ทางรัฐศาสตร์ไปปฏิบัติงานจริง
|
– สนับสนุนบุคลากรด้านการเรียนการสอนให้ทำงานบริการวิชาการแก่สังคม
– สร้างบุคลากรของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขา วิชาการเมืองการปกครองให้ได้รับการยอมรับในทางวิชาการ |
– ปริมาณงานบริการวิชาการ ต่ออาจารย์ในหลักสูตร
– ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ในหลักสูตรที่ได้รับการเผยแพร่ |
ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร
1. ระบบการจัดการศึกษา
1.1 ระบบ
ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2561 (ภาคผนวก ก)
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร สาขาวิชาอาจเปิดภาคฤดูร้อนและใช้ระยะเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ โดยกำหนดระยะเวลา และจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน กรกฎาคม – ตุลาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน ธันวาคม – มีนาคม
ภาคฤดูร้อน เดือน เมษายน – มิถุนายน
หรือให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2) เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 หมวด 2 ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาและวิธีการรับเข้าศึกษา
3) ต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด
4) คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี นอกเหนือจากนั้น อาจอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี
จำนวนนักศึกษา | จำนวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา | ||||
2565 | 2566 | 2567 | 2568 | 2569 | |
ชั้นปีที่ 1 | 50 | 50 | 50 | 50 | 50 |
ชั้นปีที่ 2 | – | 50 | 50 | 50 | 50 |
ชั้นปีที่ 3 | – | – | 50 | 50 | 50 |
ชั้นปีที่ 4 | – | – | – | 50 | 50 |
รวม | 50 | 100 | 150 | 200 | 200 |
คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา | – | – | – | 50 | 50 |
. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
3.1 หลักสูตร
1) จำนวนหน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต
2) โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาภาษา 9 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 94 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาบังคับ 60 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาเลือก 27 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ / สหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
3) รายวิชา
– รหัสวิชา
ความหมายของเลขรหัสประจำวิชาในหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง การปกครอง ประกอบด้วยเลข 7 หลัก มีความหมายดังนี้
เลขลำดับที่ 1-3 (260) หมายถึง หมู่วิชา การเมืองการปกครอง
เลขลำดับที่ 4 (1-4) หมายถึง ระดับความยากง่าย หรือระดับชั้นปี
เลขลำดับที่ 5 หมายถึง ลักษณะกิจกรรมหรือเนื้อหาวิชาดังต่อไปนี้
- หมายถึง กลุ่มวิชารัฐศาสตร์และการเมืองการปกครอง
- หมายถึง กลุ่มวิชาองค์การและการบริหารจัดการ
- หมายถึง กลุ่มวิชากฎหมายและระเบียบบริหารราชการ
- หมายถึง กลุ่มวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
8 หมายถึง กลุ่มวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
เลขลำดับที่ 6-7 หมายถึง ลำดับวิชาในแต่ละกลุ่ม
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
9011103 | การรู้สารสนเทศและการเรียนรู้
Information Literacy and Learning |
3(3-0-6) | ||
9011104 | ปรัชญาและการคิดอย่างมีเหตุผล
Philosophy and Rational Thinking |
3(3-0-6) | ||
9011105 | คุณธรรมจริยธรรมสำหรับบัณฑิต
Morality for Graduates |
3(3-0-6) | ||
9012116
9012117 |
งานและการเรียนรู้เพื่อชีวิต
Work and Learning for life สุนทรียภาพแห่งชีวิต Aesthetics of Life |
3(2-2-5)
3(2-2-5)
|
||
9012118 | ศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาตน
The King’s Philosophy for Self-Development |
3(2-2-5) | ||
2) กลุ่มวิชาภาษา เรียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
9022117 | ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
Thai for Communication |
3(3-0-6) |
9022118 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
English for Communication |
3(3-0-6) |
9022119 | ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนรู้
English for Learning Skills |
3(3-0-6) |
3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
9031117 | วิถีความเป็นไทย
Ways of Thainess |
3(3-0-6) |
9032107 | กฎหมายและสิทธิมนุษยชน
Laws and Human Rights |
3(3-0-6) |
9032108 | เศรษฐกิจดิจิทัล
Digital Economy |
3(2-2-5) |
9032109
9032110
9032111 |
ความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม
Happiness in Multicultural Society วิถีชีวิตและภูมิปัญญาอีสาน LifeStyles and Wisdom of Esan จิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น** Voluntary Mind for Local Development |
3(3-0-6)
3(2-2-5)
3(2-2-5) |
9032112 | วัยใส ใจสะอาด
Youngster with Good Heart |
3(2-2-5) |
หมายเหตุ**เป็นรายวิชาบังคับสำหรับผู้เข้าศึกษาทุกหลักสูตร
4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
9041104 | คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
Mathematics in Daily Life |
3(2-2-5) | |||||||||
9041105 | การออกกำลังกายเพื่อคุณภาพชีวิต
Exercises for Quality of Life |
3(2-2-5) | |||||||||
9042113 | คอมพิวเตอร์และการรู้เท่าทันในยุคดิจิทัล
Computers and Literacy in Digital Age |
3(2-2-5) | |||||||||
9042114 | การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่อนาคต
Application of Future Innovation and Technology |
3(2-2-5) | |||||||||
9042115 | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
Science and Technology for Sustainable Environment |
3(2-2-5) | |||||||||
9042116 | สุขภาพเพื่อชีวิต
Health for Life |
3(2-2-5) | |||||||||
9042117 | ธรรมชาติบำบัด
Natural Medicine |
3(2-2-5) | |||||||||
9042118 | เกษตรและอาหารเพื่อคุณภาพชีวิต
Agriculture and Food for Quality of Life |
3(2-2-5) | |||||||||
9042119 | การสร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
Value added Building from Local Wisdom |
3(2-2-5) | |||||||||
|
|
||||||||||
ข หมวดวิชาเฉพาะ | เรียนไม่น้อยกว่า | 94 | หน่วยกิต | ||||||||
1) กลุ่มวิชาบังคับ เรียนไม่น้อยกว่า | 60 | หน่วยกิต | |||||||||
2601101 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์
Introduction to Political Science |
3(3-0-6)
|
2601102 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
Introduction to Economics |
3(3-0-6) |
2601103 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง
Introduction to Political Philosophy |
3(3-0-6) |
2601104 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ
Introduction to Public Administration |
3(3-0-6) |
2601105 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีการเมืองและสังคม
Introduction to Social and Political Theory |
3(3-0-6) |
2601301 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
Introduction to Law |
3(3-0-6) |
2601401 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Introduction to International Relations |
3(3-0-6) |
2602101 | การเมืองการปกครองไทย
Thai Politics and Government |
3(3-0-6) |
2602102 | พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง
Political Parties, Interest Groups and Elections |
3(3-0-6) |
2602103 | การสื่อสารทางการเมือง
Political Communication |
3(3-0-6) |
2602104 | การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
Comparative Politics and Government |
3(2-2-5) |
2602201 | องค์การและการบริหารงานภาครัฐ
Organization and Public Administration |
3(2-2-5) |
2602204 | การบริหารการคลังภาครัฐ
Public Fiscal Administration |
3(3-0-6) |
2603101 | รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
Constitution and Political Institutions |
3(3-0-6) |
2603102 | ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
English for Political Scientists |
3(3-0-6) |
2603103 | การเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย
Thai Local Politics and Government |
3(3-0-6) |
2603104 | ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์
Research Methodology in Political Science |
3(2-2-5) |
2603301 | ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
Government Regulations |
3(2-2-5) |
2604101 | ยุทธศาสตร์การพัฒนา
Development Strategy |
3(2-2-5) |
2604102 | สัมมนาการเมืองและการปกครอง
Seminar on Politics and Government
|
3(2-2-5) |
2) กลุ่มวิชาเลือก เรียนไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต
วิชาบังคับเลือก 12 หน่วยกิต
2602303 | กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป
Criminal Law in General Principles |
3(3-0-6) |
2603302 | กระบวนการยุติธรรมและกฎหมายในชีวิตประจำวัน
Judicial Process and Law in Daily Life |
3(3-0-6) |
2603303 | กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
Criminal Procedure |
3(3-0-6) |
2604303 | กฎหมายปกครอง
Administrative Law |
3(3-0-6)
|
วิชาเลือก 15 หน่วยกิต
2601107
|
อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย
Contemporary Political Ideology |
3(3-0-6)
|
2601108 | ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง
Political Theory and Ethics |
3(3-0-6) |
2601211 | ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการบริหาร การพัฒนา
Information and Technology System for Development Administration |
3(2-2-5) |
2602105 | การเมืองภาคประชาชน
People’s Politics
|
3(2-2-5) |
2602202 | การจัดการความขัดแย้งและภาวะวิกฤต
Conflict and Crisis Management |
3(3-0-6) |
2602401 | นโยบายต่างประเทศของประเทศมหาอำนาจ
Foreign Policies of Major Power |
3(3-0-6) |
2603105 | จิตวิทยาการเมือง
Political Psychology |
3(3-0-6) |
2603201 | การบริหารระบบสวัสดิการภาครัฐและเอกชน
Welfare Administration in Public and Private Sectors |
3(3-0-6) |
2603304 | กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
Civil Procedure |
3(3-0-6) |
2603305 | กฎหมายลักษณะพยาน
Evidence Law |
3(3-0-6) |
2603306
|
กฎหมายมหาชนสำหรับนักรัฐศาสตร์
Public Law for Political Scientists |
3(3-0-6)
|
2603307 | กฎหมายอาญาภาคความผิด
Criminal Law in Offence |
3(3-0-6) |
2604103 | นิเวศวิทยาการเมืองและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
Political Ecology and Resource Allocation |
3(2-2-5) |
2604104 | ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ
Comparative Democracy |
3(3-0-6) |
2604105 | การพัฒนาเมืองและชนบท
Urban and Rural Development |
3(2-2-5) |
2604106 | ภาวะผู้นำสำหรับนักรัฐศาสตร์
Leadership for Political Scientists |
3(3-0-6)
|
2604107 | การต่อต้านทุจริตศึกษา
Anti – Corruption Studies |
3(3-0-6) |
2604108 | การวิจัยภาคสนามทางรัฐศาสตร์
Field Research in Political Science |
3(2-2-5) |
2604301 | ระบบบริหารราชการเปรียบเทียบ
Comparative Bureaucratic System |
3(2-2-5) |
2604302 | กฎหมายป้องกันเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์
Protective Law of Cyber Crime |
3(3-0-6) |
2604401 | ระบบรัฐสภาเปรียบเทียบ
Comparative Parliamentary Systems |
3(3-0-6) |
2604402 | อาเซียนในยุคโลกาภิวัตน์
ASEAN and Globalization |
3(3-0-6) |
3) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
2603801 | การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์
Preparation for Professional Experience in |
2(90) |
2604801 | การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์
Field of Experience in Political Science |
5(450) |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้วและต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชา