การจัดการความรู้ KM

หลักการและเหตุผล

การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการรวบรวมความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล และความรู้ที่ชัดแจ้ง มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และมีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างศักยภาพขององค์กรให้มีความสามารถในการแข่งขันระดับสูง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรด้านการจัดการความรู้ ทั้งด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย ให้บุคลากรสามารถเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ  ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว วิธีการหนึ่งที่คณะใช้ คือ การพัฒนาผ่านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยเป็นการนำจุดแข็ง ด้านบุคลากร และการมีเครือข่ายทางวิชาการของคณะฯ มาเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน กล่าวคือ คณาจารย์ของคณะฯ เป็นนักวิชาการและนักวิจัย และเป็นผู้นำทางการศึกษาดังนั้นการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรเหล่านี้และกับเครือข่ายทางวิชาการ จะทำให้เกิดการสร้างความรู้ อันจะนำไปสู่การมีนวัตกรรม การพัฒนาขีดความสามารถ และการเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

วัตถุประสงค์

1 เพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรในด้านการผลิตบัณฑิตและวิจัย
2 เพื่อค้นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตบัณฑิต และวิจัย
3 เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการผลิตบัณฑิตและวิจัย

  1. การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดย อาจารย์ศุทธินี  พลหาญ
  2. แนวทางในการเขียนข้อเสนองานวิจัย เพื่อขอรับพิจารณาทุนวิจัยจากแหล่งทุนในประเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาส ชมผา
  3. เขียน SAR แค่เข้าใจไม่ยากอย่างที่คิด โดย อาจารย์อุษาวดี วรรณประภา

 

 

 

Total Page Visits: 663 - Today Page Visits: 1